05/08/2013

มารู้จักลูกเห็บ....ในวันที่ท้องฟ้าหม่นหมอง

"ลูกเห็บ" เกิดขึ้นได้อย่างไร?
ช่วงนี้นอกจากจะเกิดฟ้าร้องฟ้าผ่ารุนแรงบ่อยครั้งแล้ว
ยังเกิด ลูกเห็บ ในหลายพื้นที่อีกด้วย
มาดูกันหน่อยครับว่าเจ้าลูกเห็บนี่เกิดขึ้นได้ยังไง
ช่วงท้ายบันทึกยังมีข้อมูลจาก ศูนย์สื่อสารวิทยาศาสตร์ไทย (Thai Science Media Center)
สัมภาษณ์ ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ด้วย
ท่านอาจารย์อานนท์เป็นนักวิชาการที่ผมนับถือมาก
เพราะให้ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ และเข้าใจง่าย

ลูกเห็บมีลักษณะเป็นก้อนน้ำแข็ง ขนาดใหญ่กว่า 5 มิลลิเมตร
โดยก้อนที่ค่อนข้างใหญ่สามารถสร้างทำอันตรายต่อคน สัตว์ พืช และสิ่งของต่างๆ ได้


ดูฤทธิ์เดชของมันซะก่อน (ใส่หมวกกันน็อกไว้หน่อย หากมีลูกเห็บหล่นมาจากฟ้า คิคิ)


                หากผ่าลูกเห็บดูภายใน จะพบว่าบางลูกมีโครงสร้างเป็นชั้นๆ



ลักษณะเช่นนี้เองที่ทำให้มีแบบจำลองอธิบายการเกิดลูกเห็บดังนี้ครับ ลูกเห็บเกิดในเมฆฝนฟ้าคะนอง (thundercloud) หรือที่นักอุตุนิยมวิทยาเรียกว่า เมฆคิวมูโลนิมบัส (Cumulonimbus) ภายในก้อนเมฆนี้มีกระแสอากาศที่ไหลเวียนอย่างรวดเร็วและรุนแรง
                                     กระแสอากาศที่ไหลขึ้นเรียกว่า อัปดราฟต์ (updraft)
                                     ส่วนที่ไหลลงเรียกว่า ดาวน์ดราฟต์ (downdrawft)



เริ่มจากเม็ดน้ำขนาดเล็กที่ถูกกระแสอัปดราฟต์พาขึ้นไปด้านบน เมื่อเม็ดน้านี้ถูกกระแสลมอัปดราฟต์พัดพาขึ้นไปสูงใกล้ยอดเมฆ ก็จะพบกับอุณหภูมิต่ำมากๆ ทำให้เม็ดน้ำแข็งตัวกลายเป็นก้อนน้ำแข็งขนาดเล็ก ในช่วงนี้ กระแสอัปดราฟต์ยังสามารถพยุงก้อนน้ำแข็งนี้ให้เคลื่อนที่ขึ้นไปได้

ระหว่างที่ก้อนน้ำแข็งเคลื่อนที่ขึ้นนี้ อาจจะพบกับหยดน้ำเย็นยิ่งยวด (supercooled droplet)
ซึ่งจะเกาะผิวของก้อนน้ำแข็งและแข็งตัวเคลือบก้อนน้ำแข็ง
เกิดเป็นชั้นน้ำแข็งชั้นแรกถัดจากแกนกลาง (ก้อนน้ำแข็งเล็กๆ ตั้งต้น)
      น้ำเย็นยิ่งยวด (supercooled water) คือ น้ำที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส แต่ยังคงสภาพเป็นของเหลว มิได้กลายเป็นน้ำแข็ง เป็นสภาพที่ไม่เสถียร และพร้อมที่จะกลายเป็นน้ำแข็ง หากกระทบกับของแข็ง]ก้อนน้ำแข็งที่สะสมเคลือบน้ำแข็งนี้อาจตกลงและถูกพัดขึ้นหมุนวนอยู่ภายในก้อนเมฆหลายรอบ แต่ละรอบก็จะเกิดเคลือบขึ้นมาหนึ่งชั้น จนในที่สุด เมื่อก้อนน้ำแข็งมีน้ำหนักถึงจุดหนึ่ง กระแสอัปดราฟต์จะพยุงไว้ไม่อยู่ทำให้ก้อนน้ำแข็งตกลงมาทางใต้ฐานเมฆก้อนน้ำแข็งนี้เองที่เราเรียกว่า ลูกเห็บ (hail หรือ hailstone)

   Credit : ชมรมคนรักมวลเมฆ
   Download File  https://docs.google.com/file/d/0B3y3ZJmTm9yeTlRuUUF2X3l6ZTg/edit?usp=sharing
Share:

Sample Text

Copyright © โรงเรียนอำนาจเจริญ2566 | Powered by Blogger Distributed By Protemplateslab & Design by ronangelo | Blogger Theme by NewBloggerThemes.com